โรคมือเท้าปากเปื่อย Hand foot mouth syndrome
โรคมือเท้าปากเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่มักจะเป็นในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบ แต่ก็อาจจะพบในผู้ใหญ่ได้
โรคมือเท้าปากจะเกิดเชื้อไวรัสกลุ่ม Enterovirus genusซึ่งเชื้อโรคในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย polioviruses, coxsackieviruses, echoviruses, and enteroviruses.
สาเหตุ
โรคปากเท้าเปื่อยเกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Coxsackievirus โดยต้องประกอบด้วยผื่นที่ มือ เท้าและที่ปาก เริ่มต้นเป็นที่ปาก เหงือก เพดาน ลิ้น และลามมาที่มือ เท้า บริเวณที่พันผ้าอ้อมเช่นก้น ผื่นจะเป็นตุ่มน้ำใส มีแผลไม่มากอายุที่เริ่มเป็นคือ 2 สัปดาห์จนถึง 3 ปีผื่นจะหายใน 5-7 วัน
อาการ
อาการมักจะเริ่มด้วยไข้ เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัวเจ็บคอ หลังจากไข้ 1-2 วันจะเห็นแผลแดงเล็กๆที่ปากโดยเป็นตุ่มน้ำในระยะแรกและแตกเป็นแผล ตำแหน่งของแผลมักจะอยู่ที่เพดานปาก หลังจากนั้นอีก1-2 วันจะเกิดผื่นที่มือและเท้า แต่ก็อาจจะเกิดที่แขน และก้นได้ เด็กที่เจ็บปากมากอาจจะขาดน้ำ
- ไข้ เจ็บคอ มีตุ่มที่คอ ปาก เหงือกลิ้นโดยมากเป็นตุ่มน้ำมากกว่าเป็นแผล ปวดศีรษะ
- ผื่นเป็นมากที่มือรองลงมาพบที่เท้าที่ก้นก็พอพบได้ เบื่ออาหาร
- เด็กจะหงุดหงิด
หมายถึงระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการใช้เวลาประมาณ 4-6 วัน
การติดต่อ
โรคนี้มักจะติดต่อในสัปดาห์แรก เชื้อนี้ติดต่อจากการสัมผัสเสมหะ น้ำลายของผู้ที่ป่วย หรือน้ำจากผื่นที่มือหรือเท้า และอุจาระ ระยะที่แพร่เชื้อประมาณอาทิตย์แรกของการเจ็บป่วย เชื้อนั้นอาจจะอยู่ในร่างกายได้เป็นสัปดาห์หลังจากอาการดีขึ้้นแล้ว ซึ่งยังสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้แม้ว่าจะหายแล้ว
การวินิจฉัย
โดยการตรวจร่างกายพบผื่นบริเวณดังกล่าว
การรักษา
ไม่มีการรักษาเฉพาะโดยมากรักษาตามอาการ
- ถ้ามีไข้ให้ยา paracetamol ลดไข้ห้ามให้ aspirin
- บ้วนปากด้วยน้ำเกลือใช้เกลือ1/2ช้อนต่อน้ำ1แก้วต้องมั่นใจว่าเด็กบ้วนคอได้
- ดื่มน้ำให้พอ
- งดอาหารเผ็ด หรืออาหารเป็นกรดเพราะจะทำให้ปวด
การป้องกัน โรคมือเท้าปากจะติดต่อจากคนสู่คนโดยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย รวมทั้งน้ำจากตุ่ม และอุจาระ การลดความเสี่ยงของการติดต่อทำได้โดย
- ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับเด็กที่ป่วย
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย สวมถุงมือเมื่อจะทำแผลผู้ป่วย
- หลีกเลี่ยงที่มีคนมาก
- ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่มีการจับ่อย เช่นลูกบิด โทรศัพท์
- ไม่แบ่งของเล่นกับเด็กปกติ
- ไข้สูงรับประทานยาลดไข้แล้วไม่ลง
- ดื่มน้ำไม่ได้และมีอาการขาดน้ำ ผิวแห้ง ปัสสาวะสีเข็ม
- เด็กระสับกระส่าย
- มีอาการชัก
- แผลไม่หาย
**ขอบคุณข้อมูลจาก www.siamhealth.net
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น